Project Approach
การเรียนแบบบูรณาการที่ผสมผสานระหว่างการเรียนตามมาตรฐานของแต่ละกลุ่มสาระ (Subject – Matter
Standards) กับการเรียนตามสภาพจริง (Authentic
Learning Environment) นักเรียนจะได้วางแผนการเรียนรู้, ลงมือปฏิบัติ (First – Hand
Research), ทำงานเป็นกลุ่ม, ได้ผลิตชิ้นงาน และเผยแพร่สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้สู่ผู้อื่นผ่านการแสดง, ศิลปะ, ดนตรี และ กีฬา (Chard,
1998)
กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานรูปแบบไผทอุดมศึกษาจึงมุ่งเน้นให้นักเรียนออกมาเรียนนอกห้องเรียนและทุกขั้นตอนในกระบวนการเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมด นักเรียนวางแผน กำหนดแนวทาง, รูปแบบและขั้นตอนการดำเนินงานด้วยตนเอง นักเรียนสามารถเลือกหรือออกแบบการทำงาน/ชิ้นงานด้วยตนเองและตามความถนัดของตนโดยมีครูผู้สอนวางกรอบการเรียนรู้และเป็นผู้ชี้แนะเท่านั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนสุดท้ายของโครงงานคือการนำเสนอเผยแพร่สู่สาธารณะ นักเรียนจะได้รู้สึกมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น
Brain – Based Learning
การเสริมสร้างพลังสมองและEQ โดยการพัฒนาสมอง 2 ด้านให้สมดุลแข็งแรง เน้นพัฒนาทักษะการคิด การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการพัฒนาสมอง (Jensen,
2000)
การเรียนในรูปแบบโครงงานของไผทอุดมศึกษาเน้นให้นักเรียนได้เรียนสาระวิชาการผ่านศิลปะ ดนตรีและกีฬา เช่น เรียนการบวกลบจากการพับกระดาษเป็นต้น
Problem – Based Learning และ Critical Thinking
Problem – Based Learning เน้นกระบวนการคิดแก้ไขปัญหา การร่วมกันค้นคว้าศึกษาวิธีการแก้ปัญหา การวางแผน การวิเคราะห์และนำความรู้ที่นักเรียนมีอยู่เข้ากับความรู้ใหม่ที่นักเรียนค้นคว้าได้มาประยุกต์ใช้กับปัญหาด้วยตนเองหรือกลุ่มของตนเอง แต่Problem – Based ไม่เน้นการสร้างผลงาน หรือ ชิ้นงานเหมือนกับ Project
Approach (Kurt, 2006)
กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาจึงมีกิจกรรมที่แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยๆแล้วให้นักเรียนร่วมกันแก้ปัญหาภายใต้การกดดันของเวลาและทรัพยากรที่นักเรียนที่อยู่ในขณะนั้น ที่ต้องมีแรงกดดันบางเนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนต้องคิด กระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ การหาคำตอบต่างๆด้วยตนเอง และ ร่วมกับผู้อื่นในการแก้ไขปัญหาต่างๆให้ท ันเวลาที่กำหนด และเนื่องจากครูส่วนใหญ่ของไผทอุดมศึกษาคุ้นเคยกับการเรียนรู้แบบ Problem – Based ในแบบการเข้าฐานการเรียนรู้ ก็จะทำให้ครูค่อยๆปรับตัวให้เข้ากับการเรียนรู้แบบใหม่โดยคงพื้นฐานในสิ่งที่ครูคุ้นเคยไว้บ้าง ครูจะได้ไม่ตกใจกับการเปลี่ยนแปลง
Inquiry – Based Learning
Inquiry – Based เป็นการค้นคว้าหาความจริง / ข้อมูล / ความรู้เพื่อความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยการตั้งคำถาม กระบวนการให้ความสำคัญกับวิธีการค้นคว้ามากกว่าคำตอบหรือผลงานสำเร็จ นักเรียนจึงต้องเข้าใจกระบวนการที่หาคำตอบอย่างชัดเจนทุกขั้นตอน ต้องมีหลักฐานอ้างอิง หลักฐานสนับสนุนของกระบวนการเพื่อยืนยันว่าคำตอบที่ได้น่าเชื่อถือ (Barell,
1998)
การเรียนการสอนแบบที่นักเรียนคุ้นเคยคือการที่ครูผู้สอนนำความรู้ต่างๆมาให้ถึงที่ ครูคิดวิธีการเรียนรู้การค้นคว้า และขั้นตอนการเรียนไว้โดยที่นักเรียนไม่จำเป็นต้องแสวงหาคำตอบต่างๆ หรือหาวิธีค้นคว้าด้วยตนเอง นักเรียนจึงไม่เห็นความสำคัญของความรู้ที่นักเรียนได้รับมาและนักเรียนจะลืมง่าย ฉะนั้นการเรียนรู้แบบโครงงานรูปแบบไผทอุดมศึกษาในทุกขั้นตอนนักเรียนเข้าไปแก้ปัญหาและแสวงหาคำตอบต่างๆด้วยตนเอง คิดวิธีการ วางแผนการที่จะหา ทุกขั้นตอนนักเรียนต้องมีหลักฐานอ้างอิงอย่างชัดเจน นอกจากนั้นยังเน้นให้นักเรียนเคารพสิทธิของผู้อื่นเพราะนักเรียนต้องแสดงหลักฐานอ้างอิงเมื่อนำความรู้ที่ค้นคว้าได้มาจากไหนและเป็นของใคร
Multiple Intelligences
กระบวนการเรียนที่หลากหลายรูปแบบในเรื่องเดียวกัน เพื่อสนองความต้องการในความแตกต่างของรูปแบบการเรียนรู้ของ
นักเรียน เช่น Visual
learners หรือ Kinetic learners เพื่อให้สาระการเรียนที่ครูส่งไปสามารถเข้าถึงนักเรียนจำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Gardner,
2000)
Project Approach in Patai Style จึงเน้นให้แต่ละกิจกรรมมีขั้นตอนการเรียนรู้หลากหลายในหัวเรื่องเดียวกันเช่น ถ้าจะเรียนเรื่องประเพณีแห่นางแมว ขั้นแรกอาจเริ่มจากการศึกษารูปและค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ตเพื่อสนองการเรียนรู้ของ Visual
Learners ขั้นต่อมาอาจให้นักเรียนวางแผนและจำลองพิธีการของประเพณีมาแสดง ขั้นตอนนี้ก็จะตอบสนองการเรียนรู้ของ Kinetic
Learners เป็นต้น
Constructivism
องค์ความรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสาระในสิ่งที่เรียนรู้มีความหมายหรือสามารถเชื่อมโยงกับตัวผู้เรียนฉะนั้นผู้เรียนต้องเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้จะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อนักเรียนสามารถสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากสาระที่เรียนรู้นั้นๆได้ เครื่องมือที่มีประโยชน์และเหมาะกับการเรียนรู้แบบนี้คือคอมพิวเตอร์หรือสื่อICT
(Bruner, 1990)
ทุกกิจกรรมในโครงงานแบบไผทอุดมศึกษาจึงเน้นให้นักเรียนสร้างผลงานจากสิ่งที่นักเรียนเรียนรู้ และให้ใช้สื่อ ICT และคอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเนื่องจากสื่อICT เป็นสื่อที่นักเรียนให้ความสนใจมากและโรงเรียนก็มีความพร้อมด้านทรัพยากร ICT
Cooperative Learning
หลักสำคัญของCooperative คือ การแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยๆเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลในการเรียนรู้และเรียนรู้จากกันและกันเพื่อแก้ปัญหาหรือทำโครงงานอย่างหนึ่งให้สำเร็จ (David
and Roger, 2001)
โครงงานแบบไผทอุดมศึกษาจึงเน้นแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยๆเพื่อฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบโดยนักเรียนจะมีหน้าที่รับผิดชอบอย่างใดอย่างหนึ่งในแต่ละกิจกรรมเสมอและงานที่นักเรียนทำต้องเกี่ยวเนื่องกับงานของนักเรียนคนอื่นๆ นักเรียนจะได้เรียนรู้ว่าถ้านักเรียนไม่รับผิดชอบงานของตนให้เสร็จเพื่อนๆทุกคนก็จะเดือดร้อนไปด้วย รวมทั้งเรียนรู้ที่จะทำงานเป็นทีม และการแสดงความคิดเห็นให้เพื่อนๆฟังและนักเรียนนำความคิดที่ได้จากเพื่อนไปปรับปรุงแก้ไข |