ชื่อprojectควรจะสามารถเรียกร้องความสนใจของนักเรียนและเฉพาะเจาะจงให้ตรงกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
- กลุ่มสาระที่เกี่ยวข้อง
- ระบุกลุ่มสาระที่เป็นหลักของProject
/ กลุ่มสาระที่มีเนื้อหารับผิดชอบมากที่สุด
- ระบุกลุ่มสาระที่บูรณาการในProject
- คำถามหลักของProject
คำถามหลักของProjectจะนำพานักเรียนไปสู่การเรียนรู้แบบProjectซึ่งนักเรียนต้องศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ทำงานร่วมกับผู้อื่น บริหารจัดการ แก้ปัญหา และ ตัดสินใจ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของProject คำตอบที่ได้มาไม่จำเป็นต้องมีคำตอบเดียวหรือมีการชี้ถูกผิด ควรเป็นคำตอบปลายเปิด ฉะนั้นการตั้งคำถามควรตั้งจากเหตุการณ์ปัจจุบันที่ใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด และคำถามไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบของประโยคคำถามเสมอไป อาจเป็นบรรยายปัญหา หรือ สถานการณ์ที่ต้องการให้นักเรียนแก้ไขหรือพัฒนาก็ได้
การตั้งคำถามที่ดี – กุญแจสู่การจูงใจนักเรียน
คำถามที่จะมีคำตอบเพียงคำตอบเดียว (ไม่เหมาะกับการเรียนแบบProject)
คำถามที่บรรยายสถานการณ์ปัญหาเพื่อการหาข้อสรุปซึ่งอาจมีคำตอบมากกว่าหนึ่งแต่คำตอบจะต้องมีหลักฐานหรือข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนยืนยัน
คำถามที่ต้องการคำตอบเป็นการแสดงความคิดเห็น ความเชื่อ ส่วนรวมหรือส่วนบุคคล คำตอบไม่มีถูกผิด ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานหรือข้อมูลยืนยัน
- คำถามต้องสามารถหาคำตอบได้
- คำตอบต้องไม่ใช่ข้อมูลง่ายๆที่หาได้ทั่วไปโดยไม่ผ่านกระบวนการทางความคิด
- คำตอบต้องไม่ใช่สิ่งที่นักเรียนรู้อยู่แล้ว
- คำถามต้องตั้งอย่างมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าคำตอบที่ได้ต้องเป็นแนวไหน หรืออย่างไร
- คำถามต้องไม่ตั้งจากความคิดหรือความเชื่อส่วนบุคคล
- วัตถุประสงค์ของProject
การตั้งวัตถุประสงค์ต้องชัดเจนและเฉพาะเจาะจงว่าต้องการให้นักเรียนได้อะไร หรือ มีแนวทางที่จะพัฒนานักเรียนไปยังจุดหมายใด เพื่อให้ทั้งครูและนักเรียนมีแนวทางที่ชัดเจนร่วมกันในการดำเนินProject ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ประสบความสำเร็จง่ายขึ้นและมากขึ้น
การเรียนรู้แบบProject เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการ ยืดหยุ่นและไม่มีรูปแบบตายตัวแต่ต้องคงไว้ซึ่งมาตรฐานของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำหนด ฉะนั้น ทุกกลุ่มสาระที่เกี่ยวข้องต้องแจงมาตรฐานการเรียนรู้ของตนได้อย่างชัดเจนเพื่อการเรียนรู้และประเมินผลที่สมบูรณ์
การเขียนWeb Model ของ Project สามารถทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการวางแผนของครูผู้สอน
การนำไปใช้ไม่ใช่หมายความถึงการพัฒนาความรู้ หรือ ทักษะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เมื่อจบproject เท่านั้น แต่หมายถึงการเชื่อมโยงกับชีวิตจริงตั้งแต่เริ่มวางแผนของproject การตั้งวัตถุประสงค์ หรือ สถานการณ์ปัญหา ควรเป็นเรื่องในปัจจุบันที่นักเรียนประสบอยู่ และ ในช่วงระหว่างการดำเนินproject ควรให้นักเรียนมีโอกาสที่จะไปหาข้อมูลหรือคำตอบของprojectจากโลกภายนอก เช่น การค้นคว้าจาก Internet, การสัมภาษณ์บุคคล, การทัศนศึกษา ฯลฯ เพราะการเรียนรู้จะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้เหล่านั้นกับประสบการณ์หรือความรู้เก่าของตัวเองเท่านั้น
ถึงการเรียนรู้แบบprojectจะให้อิสระกับนักเรียนในการวางแผนการเรียนรู้แต่ครูต้องมีการกำหนดแผนคร่าวๆเกี่ยวกับการดำเนินงานproject ไว้ เพื่อให้ครูผู้รับผิดชอบทุกคนมีแนวการเรียนการสอนและการตัดสินใจไปในทิศทางเดียวกัน สิ่งที่ต้องกำหนดขั้นไว้มีดังนี้
กิจกรรมทุกกิจกรรมที่อยู่ในproject ต้องมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอนแต่ในรายละเอียดวิธีการครูและนักเรียนจะช่วยกันคิดและกำหนดรายละเอียดในระหว่างการทำproject
เช่น ครูกำหนดว่า
กิจกรรมที่ 1 คือการแนะนำprojectเพื่อให้นักเรียนเข้าใจวัตถุประสงค์ และสำรวจความรู้เดิมของนักเรียน แต่วิธีการที่จะทำอาจไปตกลงกับนักเรียนว่าจะทำอย่างไร เช่น การเขียน Mind
map / Brainstorm ฯลฯ
-
กำหนดเวลา
- ระยะเวลาทั้งหมดในการทำproject
- ระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน / กิจกรรม
- เวลาที่ใช้จะอยู่ในเวลาเรียนทั้งหมดหรือจะใช้นอกเวลาเรียนบางส่วน
- ระยะเวลาจะทยอยทำตามคาบเรียนหรือ (Blocked – Learning
Duration)จะกำหนดช่วงเวลาแล้วงดการเรียนการสอนอื่นๆทั้งหมด
การมีกำหนดเวลาที่แน่นอนจะช่วยให้ครูและนักเรียนวางแผนการทำงานให้เหมาะสมกับเวลา และเป็นตัวแปรหนึ่งที่จะกดดันให้นักเรียนกระตือรือร้นในการเรียนรู้และทำงานให้เสร็จทันเวลา
ครูต้องสร้าง Rubric ที่ชัดเจน กำหนดรายละเอียดตัวบ่งชี้ที่แน่นอนและสามารถเห็นเป็นรูปธรรมได้เพื่อจะประเมินอย่างยุติธรรมและมีประสิทธิภาพ
สังเกตและประเมินจากพฤติกรรมการทำงานของสมาชิกในproject ทุกคน
- การให้ความร่วมมือ
- ความรับผิดชอบในการทำงานส่วนของตน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- การแสดงความเห็น / อภิปราย
- การประเมินการผลงาน / ผลลัพธ์ที่ได้ (Assess
the outcome)
ประเมินจากผลลัพธ์ที่เห็นเป็นรูปธรรมมีหลักฐานร่องรอยที่ชัดเจน
- เอกสารการเรียนรู้ เช่น ใบงาน หรือ รายงาน
- ผลงาน / ชิ้นงานสำเร็จ
- การนำเสนอ
- ประเมินประสบการณ์ (Evaluate
experience)
- บทสรุปproject
เป็นการให้นักเรียนทั้งหมดวิเคราะห์ วิจารณ์การทำงาน / กิจกรรมที่ผ่านมาทั้งหมด หัวข้อที่ควรนำมาอภิปรายมีดังนี้
- ระยะเวลาการทำงาน
- ความรู้และประโยชน์ที่ได้รับ
- ความรู้สึกต่อเพื่อนร่วมงาน
- ความรู้สึกต่อproject
- สิ่งที่นักเรียนคิดว่าทำดีแล้วในprojectนี้
- สิ่งที่นักเรียนคิดว่าต้องแก้ไขหรือปรับปรุงต่อไป
- นำเสนอ อภิปราย แนะนำ projectใหม่ที่จะทำ
- การประเมินตนเอง
นักเรียนทุกคนต้องมีการทำใบประเมินตนเองเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ตนเองของนักเรียนและครูสามารถนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป |