![]() |
![]() |
แบบทดสอบก่อนเรียน | แผนการสอน | ผลการศึกษา | เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย | Vocab 8 Wat | สรุปผลการศึกษา |
![]() |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้สถาปนาวัดโพธาราม วัดเก่าเป็นวัดหลวง และที่ใต้พระแท่นประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถ เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของรัชกาลที่ 2 ไว้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ หรือวัดโพธิ์ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของประเทศไทย เพราะงามวิจิตรด้วยพุทธศิลป์ ผสมผสานกับภูมิปัญญาไทย มีสิ่งสำคัญดังนี้ - พระอุโบสถ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ตามแบบศิลปะอยุธยา พระอุโบสสร้างสมัยรัชกาลที่ 1 ตามแบบศิลปะอยุธยาตอนปลาย บานประตูพระอุโบสถ ด้านนอกลายประดับมุก เป็นลายภาพเรื่องรามเกียรติ์ ด้านในเขียนลายรดน้ำรูปพัดยศพระราชาคณะ พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ นามว่า พระพุทธเทวปฏิมากร ที่ฐานชุกชีบรรจุพระบรมอัฐิและพระสรีรังคารรัชกาลที่ 1 ไว้ - กำแพงแก้ว ล้อมบานพระอุโบสถ มีซุ้มประตู 8 ซุ้ม และซุ้มพัทธสีมา 8 ซุ้ม กำแพงแก้วด้านนอกประดับศิลาลายฉลัก(สลัก) เป็นรูปภูเขา ต้นไม้และรูปสัตว์ต่างๆ ซุ้มประตูทางเข้า 8 ซุ้ม (ประตูทรงมงคล) สร้างด้วยหินแกรนิตแกะสลัก มีรูปหล่อสางแปลงเนื้อสำริดประตูละหนึ่งคู่ พนักระหว่างเสาเฉลียงพระอุโบสถด้านนอกประดับศิลาจำหลักภาพเรื่อง รามเกียรติ์ 152 ภาพ มีโคลงจารึกบอกเนื้อเรื่องติดไว้ ภาพสลักศิลาเหล่านี้ มาจากภาพหนังใหญ่รัชกาลที่ 3 - พระระเบียง สร้างรอบพระอุโบสถอยู่ 2 ชั้น ทั้งสองชั้น เชื่อมต่อด้วยพระวิหารทิศ อยู่รอบพระอุโบสถทั้งสี่ทิศ พระวิหารทิศตะวันออก ประดิษฐานพระพุทธรูป พระเจ้าตรัสในควงไม้พระมหาโพธิ์ ปางมารวิชัยและมุขหลังประดิษฐานพระพุทธรูปยืนสูง 10เมตรหล่อด้วยสำริด อัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงเก่ามีนามว่า พระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์ และมีแผ่นศิลาจารึกการสถาปนาวัดโพธิ์ที่ผนังด้านตะวันตก พระระเบียงชั้นในประดิษฐานพระพุทธรูป 150 องค์ พระระเบียงชั้นนอกประดิษฐานพระพุทธรูป 244 องค์ ตามเสาพระระเบียง รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้จารึกเพลงยาวกลอักษร เพลงยาวกลบทและตำราฉันท์ต่างๆ อยู่ในกรอบศิลารวม 100 แผ่น - พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว ประดิษฐานอยู่ตรงมุมพระวิหารคดทั้งสี่ด้าน พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียวประกอบด้วยพระเจดีย์ใหญ่ตรงกลางล้อมรอบด้วยพระเจดีย์เล็กสี่องค์รวมห้าองค์อยู่บนฐานเดียวกัน เป็นสถาปัตยกรรมเจดีย์ย่อไม้สิบสองและเจดีย์แบบไม้สิบสองเพิ่มมุม ประดับกระเบื้องเครื่องถ้วยตัดประดิษฐ์ลวดลายดอกไม้งามวิจิตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุทุกองค์ พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียวนี้ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 - เขามอ หรือสวนหย่อม เป็นสวนหินปลูกไม้ประดับที่รัชกาลที่ 3 โปรดฯ ให้รื้อ ขนก้อนศิลาใหญ่และเล็ก ซึ่งก่อเป็นภูเขาในสวนขวาในพระบรมมหาราชวัง แต่ครั้งที่รัชกาลที่ 2มาก่อเป็นภูเขาเป็นสวนประดับรอบวัด ปลูกต้นไม้ไว้ตามเชิงเขาและบนเขา มีทั้งสถูปและเสาโคมแบบจีน รูปตุ๊กตาจีน และรูปสัตว์จตุบาท (สัตว์สี่เท้า) ต่างๆ เรียงรายอยู่ทั่วไป ทั้งบนเขาและเชิงเขา เขามอมีทั้งหมด 24 ลูก เช่น เขาประดู่ เขาสะเดา เขาอโศก เขาสมอ เขาฤษีดัดตน เขาศิวลึงค์ เป็นต้น พรรณไม้ที่ปลูกประดับ ส่วนใหญ่เป็นพรรณไม้สมุนไพร บางแห่งต้นไม้ใหญ่ตายลง ทางวัดได้ปรับปรุงเป็นสวนหิน ประดับด้วยไม้ดอกไม้ใบนับเป็นมุมพักผ่อนที่เพลิดเพลินตาเย็นกายสบายใจ - ศาลาราย ศาลารายล้อมลานวัดทั้งข้างใน (รอบพระอุโบสถ) และข้างนอก (แต่กำแพงสกัดออกไป) ของเดิมไม่มีเฉลียงลด ก่อล้อมเป็นช่องกุฎ รื้อก่อใหม่ในรัชกาลที่ 3 ต่อเฉบียงออกไปรอบตัว ลดพื้นเป็นสองชั้นแต่สามด้าน ศาลารายคู่หน้าพระมหาเจดีย์ ศาลาคู่นี้อยู่ระหว่างพระมหาเจดีย์และพระอุโบสถ ศาลารายหลังเหนือ จารึกตำรานวดแผนโบราณ มีจิตรกรรมลายเส้นบอกตำแหน่งนวด จารึกอยู่ที่คอสองเฉลียงลด มีจำนวน 32 แผ่น ด้านหลังจารึกสุภาษิตพระร่วง กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ และภาพเขียนขบวนแห่กฐินพยุหยาตราสถลมารค - พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล พระมหาเจดีย์ทั้งสี่องค์อยู่ในบริเวณกำแพงแก้วสีขาวซุ้ม ประตูทางเข้าเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์แบบจีน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ เครื่องถ้วยหลากสี มีตุ๊กตาหินจีนประตูละคู่ พระมหาเจดีย์แต่ละองค์เป็นเจดีย์ย่อไม้สิบสองเพิ่มมุมสูง 42 เมตรประดับกระเบื้องเคลือบและกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายสีต่างๆ เคลือบสีเขียว นามว่า พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 เพื่อครอบพระศรีสรรเพชญ์ นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1 องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว นามว่า พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงพระราชอุทิศถวายแด่พระบรมราชชนก นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 2 องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง นามว่า พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงพระราชอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระองค์ พระมหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาบ หรือสีน้ำเงินเข้ม เป็นพระมหาเจดีย์ที่รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างขึ้นตามแบบเจดีย์ศรีสุริโยทัย - พระวิหารพระพุทธไสยาส เป็นพระวิหารที่สร้างเพื่อประดิษฐานพระพุทธไสยาส รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นภูมินทรภักดี ทรงกำกับช่างสิบหมู่สร้างพระพุทธไสยาสขึ้นก่อน แล้วจึงสร้างพระวิหารภายหลัง องค์พระพุทธไสยาสก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทองด้านพระพักตร์สูง 15 เมตร ทอดพระองค์ยาว 46 เมตร ที่พระบาทสูง 3 เมตร ยาว 5 เมตร พระบาทประดับมุกภาพมงคล 108 ตรงกลางเป็นรูปกงจักรตามตำรามหาปุริสลักษณะ นับเป็นพระพุทธไสยาสที่งดงามที่สุดในประเทศไทย ลายประดับมุกที่พระบาท เป็นลายศิลปะไทยผสมจีน เป็นมงคล 108 - พระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) รัชกาลที่ 3 โปรดฯ ให้สถาปนาเป็นสถาปัตยกรรมจัตุรมุขเครื่องยอดทรงมหามงกุฏประดับกระเบื้องเคลือบ เครื่องถ้วยหลากสี ลวดลายงามวิจิตร ภายในมีตู้เก็บพระไตรปิฏก มีศาลารายล้อมพระมณฑปสามด้าน ผนังภายในศาลารายมีภาพจิตรกรรมเรื่อง กำเนิดรามเกียรติ์ ประเพณีรามัญ กวนข้าวทิพย์ เป็นต้น ผนังภายนอกมีศิลาจารึกโคลงสุภาษิต เรียกว่า โคลงโลกนิติ ที่ซุ้มประตูทางเข้ามณฑปทั้งสองข้างมีรูปยักษ์วัดโพธิ์(ตัวจริง) ที่มีตำนานว่าไปรบกับยักษ์วัดแจ้งนั่นแหละ ต่อมาท่านก็ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดพระมหาธาตุ อยู่ที่วัดพระมหาธาตุได้เพียงปีเดียว พระองค์เจ้าลักขณานุคุณก็สิ้นพระชนม์ ปี พ.ศ. 2378 สุนทรภู่หมดที่พึ่ง จึงลาสิกขาบทลงเรือร่อนเร่ ขายบทกลอนประมาณ 5 ปี สุนทรภู่พาลูกชายหนูพัดเข้าเฝ้ากรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส เพื่อขอบวชที่วัดพระเชตุพนฯ กรมพระปรมานุชิตฯ ทรงทราบเรื่องความยากลำบาก จึงให้มาบวชทั้งสุนทรภู่และหนูพัด เมื่ออายุ 54 ปี ไปจำพรรษาที่วัดราชบูรณะ และวัดเทพธิดาราม ไม่นานมีเรื่องไม่สบายใจ จึงลงเรือเร่ร่อนไปสุพรรณบุรี ปี พ.ศ.2384 บรรณานุกรม ชีวิตและผลงานของสุนทรภู่. กรุงเทพมหานคร : องค์การค้าคุรุสภา, 2543. ศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เจ้าพระยา, 2528. ประวัติวัดชิโนรสารามวรวิหารและกฎแห่งกรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและวัสดุภัณฑ์, 2546. สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย. อนุสรณ์สุนทรภู่ 200 ปี. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์การพิมพ์, 2529. คู่มือนำเที่ยววัดโพธิ์. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรวิหาร. กรุงเทพมหานคร, 2540. พระมหาสวัสดิ์ อหึสโก. สิ่งน่ารู้ในวัดอรุณราชวราราม. กรุงเทพมหานคร : รุ่งวัฒนาการพิมพ์, 2537. พระมหาอุดม อติเมโธ. ชีวประวัติและผลงานของสุนทรภู่. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์) กรมศิลปากร. สุนทรภู่...ที่คนไทยไม่รู้จัก. กองบรรณาธิการ ศิลปวัฒนธรรม, 2547. พระมหาอุดม อติเมโธ. พระพุทธเทวริลาส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมรักษ์ราชบุรี, (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์) เปลื้อง ณ นคร. สุนทรภู่ครูกวี. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, 2542. พระมหาสวัสดิ์ อหึสโก. สิ่งน่ารู้ในวัดอรุณราชวราราม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2541. นิดดา หงส์วิรัตน์. Temples วัด. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แสงแดด-เพื่อนเด็ก, 2544. ตั้งอยู่เลขที่ 201 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 โทร. 0-2521-1457-8 FAX. 0-2551-2233 http://www.patai.th.edu E-Mail : patai1@patai.th.edu |