๑. พยัญชนะที่ไม่มีเครื่องหมายใดอยู่บน หรือล่าง
และไม่มีสระใดๆ กำกับไว้ ให้อ่านออกเสียง
อะ ทุกตัว
เช่น
นโม
อ่านว่า นะ -โ ม
อรหโต อ่านว่า อะ - ระ - หะ -โต
โลกวิทู อ่านว่า โล - กะ - วิ - ทู
๒. พยัญชนะใดมีเครื่องหมาย . ( พินทุ ) อยู่ข้างใต้ แสดงว่า
พยัญชนะนั้นเป็นตัวสะกด ให้อ่านออกเสียง เหมือน
อะ +
(ตัวสะกด)
เช่น
สมฺมา (สะ + ม
= สัม) อ่านว่า สัม-มา
อตฺตา (อะ + ต
= อัต) อ่านว่า อัต-ตา
๓. พยัญชนะใดเป็นตัวนำที่มีเครื่องหมาย ( พินทุ )
อยู่ข้างใต้ให้อ่านออกเสียง อะ
ของตัวอักษรนั้นเพียงครึ่งเสียง
หรือออกเสียง ควบไปกับอักษรตัวตาม เช่น
สฺวากฺขาโต อ่านว่า สะ
- หวาก - ขา - โต
พฺรหฺมา อ่านว่า พรัม
- มา ( ร,ห ไม่ออกเสียง )
๔. พยัญชนะที่มีเครื่องหมาย ° ( นิคหิต )
อยู่ข้างบนตัวพยัญชนะนั้น ไม่มีสระอยู่ด้วย
ให้อ่านเหมือนมี ั ( ไม้หันอากาศ )
+ ง สะกด
เช่น
อรหํ อ่านว่า อะ
- ระ - หัง
ธมฺมํ อ่านว่า ธัม
- มัง
สรณํ อ่านว่า สะ
- ระ -นัง
๕. พยัญชนะที่มีเครื่องหมาย ° ( นิคหิต )
อยู่ข้างบนพยัญชนะตัวนั้น และมีสระอื่นกำกับอยู่ด้วย
ให้อ่านออกเสียงสระ
ที่กำกับ + ง สะกด เช่น
พาหุ ํ อ่านว่า พา
- หุง
ธมฺมรึ อ่านว่า ธัม
- มะ - จา
- ริง
|