แกนกลางโลก -------------------------------------------------------------------------------- นักธรณีวิทยาแบ่งโครงสร้างภายในของโลกออกเป็นชั้นๆ นอกสุดเป็นเปลือกโลก
ชั้นนี้มีความหนาประมาณ 30 กิโลเมตร เปลือกโลกยังแบ่งออกเป็นเปลือกโลกทวีป
และเปลือกโลกมหาสมุทร ใต้เปลือกโลกลงไปเป็นชั้นกลาง (mantle) ชั้นนี้มีความหนาประมาณ
2,800 กิโลเมตร และมีความหนาแน่นมาก mantle ส่วนที่ติดกับเปลือกโลกมีความเหนียวที่ยืดหยุ่นได้
ดังนั้นเปลือกโลกจึงเคลื่อนที่ได้ ถึงแม้ว่าจะช้าด้วยความเร็ว 2 เซนติเมตร/ปี
ก็ตามเมื่อประมาณ 60 ปี มาแล้วนักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าโลกเรามีแกนกลางที่มีลักษณะ
กลม อยู่ภายในแกนกลางของโลก มีขนาด 3 ใน 4 ของดวงจันทร์ และประกอบด้วยเหล็กบริสุทธิ์
ข้อมูลที่ได้จากการทดลองชี้บอกว่า อุณหภูมิของเหล็กบริเวณแกนกลางสูงประมาณ
6,000 องศาเซลเซียส และผิวของแกนกลาง มิได้กลมดังผลสมมุติ มีลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่ำ
R. Cohen แห่ง Carnegie Institution ที่ Washington ในสหรัฐอเมริกาได้ ทดลองพบว่า
คลื่นแผ่นดินไหวขณะเคลื่อนที่ผ่านแกนโลกในแนวเหนือใต้ มีความเร็วสูงกว่าคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่าน
ในแนวเส้นศูนย์สูตรราว 4% เขาอธิบายว่าเป็นเพราะอะตอม เหล็กที่อยู่ในบริเวณแกนกลางได้จัดตัวเรียงรายอยู่
ในระนาบเป็นรูปหกเหลี่ยมด้านเท่าและระนาบแต่ละระนาบเรียงซ้อนกัน โดยระนาบที่อยู่ติดกันจะอยู่เหลื่อมกันเล็กน้อย
การคํานวณความเร็วของคลื่นแผ่นดินไหวเวลาผ่านอะตอมที่มีการเรียงตัวเช่นนี้
แสดงให้เห็นชัดว่า คลื่นที่เคลื่อนที่ในแนวตั้งฉากกับระนาบ มีความเร็วสูงกว่าคลื่นที่มีเคลื่อนที่ในแนวขนานกับระนาบ
ซึ่งความเร็วที่แตกต่างกันนี้ คล้องจองกับข้อมูลที่สังเกตเห็นได้ และวัดได้จากการทดลอง
และจากความจริงที่ว่าอุณหภูมิของโลกลดต่ำตลอดเวลา ดังนั้นอุณหภูมิที่แกนโลกจึงลดต่ำลงด้วย
เมื่อ |