กาลเวลาผันเปลี่ยนไปกับดวงใจที่ใคร่รู้ ตอน : ตามรอยนิราศพระบาท
หน้าแรก | กิตติกรรมประกาศ | วัตถุประสงค์ | บทคัดย่อ | ขั้นรวบรวมข้อมูล | ที่มาและความสำคัญ | อัตชีวประวัติสุนทรภู่ | ผลการศึกษา | สรุปผลการศึกษา | ทีมงาน
 
 
 
โอ้อาลัยใจหายไม่วายห่วง
     
ดังศรสักปักซ้ำระกำทรวง เสียดายดวงจันทราพงางาม
เจ้าคุมแค้นแสนโกรธพิโรธพี่ แต่เดือนยี่จนย่างเข้าเดือนสาม
จนพระหน่อสุริยวงศ์ทรงพระนาม
จากอารามแรมร้างทางกันดาร
ด้วยเรียมรองมุลิกาเป็นข้าบาท
จำนิราศร้างนุชสุดสงสาร
ตามเสด็จโดยแดนแสนกันดาร
นมัสการรอยบาทพระศาสดา
วันจะจรจากน้องสิบสองค่ำ พอจวนย่ำรุ่งเร่งออกจากท่า

 
โรงเรียนไผทอุดมศึกษา
  201 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน
  เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
  โทร. 0-2521-1457-8 FAX. 551-2233

จากบทร้อยกรองนี้ทำให้ได้รับความรู้ว่า สุนทรภู่เดินทางไปนมัสการพระพุทธบาท โดยตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ เมื่อปีพุทธศักราช 2351 ตรงกับเวลา 12 ค่ำ เดือนยี่ เวลาเช้าตรู่ ออกเดินทางจากวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตารามแห่งนี้ และสุนทรภู่เป็นมหาดเล็กในขณะนั้น
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารเดิมเรียกว่า วัดบางหว้าใหญ่เป็นวัดโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
สำหรับประวัติวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่ที่ถนนอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เดิมเรียกวัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดโบราญสร่างในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดและได้ทรงถวายหอพระไตรปิฎกและมีคนรียกกันว่าตำหนักจันทร์ และที่เรียกว่าวัดระฆังเพราะมีการขุดพบระฆังที่มีเสียงไพเราะที่วัดนี้ ในภายหลังรัชกาลที่1ได้ทรงขอระฆังเสียงดีลูกนี้ไปวัดที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงสร้างหอระฆังมีจัตุรมุขพร้อมระฆังอีก5ลูก เพราะเหตุนี้จึงได้ชื่อตามที่ประชาชนเรียกว่าวัดระฆัง
รูปปั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นสัญลักษณ์แทนว่าท่านเคยจำพรรษาที่วัดแห่งนี้
เป็นที่สักการะที่นับถือของชาวพุทธ
ด้านหน้าวัดระฆังโฆสิตารามอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตรงข้ามท่าช้างวังหลัง
สภาพปัจจุบันหน้าวัดระฆังเป็นท่าเรือวัดระฆังที่มีคนสัญจรไปมาเพื่อข้ามฟากไปท่าช้าง