บันไดนาคสุนทรภู่กล่าวว่าเหมือนมีชีวิตจริง
ลีลาดังจะเลื้อยออกมาขย้ำเขี้ยวขบปาก ตาเขม้นมอง ซึ่งบันไดนาคเป็นทางขึ้นพระมณฑปสำหรับขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาท
ของเดิมมี 2 ทางคือทิศตะวันตกและทิศเหนือ ที่เชิงบันไดทั้งสองทาง
มีเศียรนาคหล่อทองสัมฤทธิ์แต่บันไดทิศตะวันตก(ด้านประตูเสด็จ)นาคมี
5 เศียร เป็นของหล่อขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกประจำเชิงบันได
2 สายต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างบันไดเพิ่มอีกสายหนึ่ง
รวมเป็น 3 สาย และหล่อเศียรนาคด้วยสัมฤทธิ์ประจำราวบันไดเพิ่มขึ้นอีก
1 เศียร ส่วนเศียรนาคหล่อสัมฤทธิ์อีกคู่หนึ่งที่ประจำราวบันใดทางทิศเหนือตรงประตูยักษ์เข้ามานั้นเป็นนาค
7 เศียร แต่ละเศียรสวมมงกุฎ มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กล่าวกันว่า
สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
|
|
เชิงบันไดเศียรนาค
ด้านทิศเหนือ
ซึ่งสร้างขึ้นใหม่รัชกาลที่ 4
|
|
|
เชิงบันไดมีเศียรนาคหน่อทองสัมฤทธิ์ทิศตะวันตก
บันไดนาคทางนี้เป็นทางสำหรับเสด็จขึ้น
นมัสการของพระพุทธเจ้า
|
|
ทิศประจิมปรากฏดาบสรูปปั้นนอกเหนือจากนี้มีสัจจพันธ์ฤาษีและฤาษีหมอ
ตามประวัติกล่าวว่าสัจจพันธ์ฤาษีได้จำศีลภาวนาอยู่ที่เขาสุวรรณบรรพตมาแต่เดิม
เมื่อสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาแสดงธรรมโปรดสัจจพันธ์ฤาษีจึงเกิดความเลื่อมใส
ศรัทธา อุปสมบท เพราะปรากฎว่าพระพุทธบาทมีรูปสัจจพันธ์ฤาษีปรากฏอยู่หลายแห่ง
นอกจากนี้ฤาษีหมอตั้งอยู่ทีเชิงเขาโพธิ์ลังกาซึ่งมีศาลาเสาก่ออิฐคือปูน
หลังคามุงกระเบื้องไทยสร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีรูปฤาษีจำลองคือสัจจพันธ์ฤาษีตั้งอยู่กลางประชาชนนิยมนับถือว่ามีตามศักดิ์สิทธิ์
ผู้ใดเจ็บป่วยไปกราบไหว้อธิษฐานขอน้ำมนต์อาบหรือดื่มก็หาย นับว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่ง
ก่อนขึ้นพระมณฑปที่บริเวณบันไดนาคด้านทิศตะวันตกหรือด้านประตูเสด็จจะพบสิงโตตันสองตัวขนาบข้างบันไดนาคตามที่กล่าวไว้จริง
|
|
สัจจพันธ์ฤาษีอยู่ที่เขาสุวรรณบรรพต
|
|
|
หน้าบันไดทางขึ้นพระมณฑปมีสิงโตตัน
2 ตัว
|
|
|
สิงโตตัน 2 ตัวมีลีลา
ดังที่สุนทรภู่กล่าวว่า
ดูผาดเผ่นเหมือนจะเต้นไปตามทาง
|
|
|
|